ศูนย์จำหน่ายอุปกรณ์เน็ตเวิร์คชั้นนำ ในประเทศไทย
Personal Computer Memory Card International Association หรือ PCMCIA เป็นองค์กรที่ก่อตั้งขึ้นซึ่งในปัจจุบันประกอบด้วยสมาชิกร่วมกว่า 500 บริษัท Japan Electronic Industry Development Association หรือที่รู้จักกันในชื่อ JEIDA เป็นองค์กรที่ก่อตั้งขึ้นมาโดยไม่มีจุดประสงค์เพื่อหากำไร แต่ต้องการให้อุตสาหกรรมด้านอิเลคทรอนิคส์ได้มีการขยายตัว และมรการพัฒนามากยิ่งขึ้น และในที่สุดทั้งสององค์กร คือ PCMCIA และ JEIDA ก็ได้รวมตัวกันเพื่อพัฒนามาตรฐานสำหรับอแด็ปเตอร์ที่มีขนาดเท่ากับบัตร เครดิต ซึ่งเราเรียกว่า PC Card เทคโนโลยีนี้ถูกผลิตออกมาสำหรับคอมพิวเตอร์โน๊ตบุคและคอมพิวเตอร์แบบพกพา อื่นๆ
ในปีพ.ศ. 2528 JEIDA ได้เริ่มกำหนดมาตรฐานของ PC Card ขึ้น การจัดองค์กรได้ทำเป็นรูปร่างขึ้นมาเพื่อที่จะโฆษณาผลิตภัณฑ์การ์ดหน่วยความจำ, เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์แบบพกพาต่างๆ และในปีพ.ศ. 2533 JEIDA ก็ได้ประกาศข้อกำหนดออกมา 4 Release ด้วยกัน
สำหรับ PCMCIA ได้ทำการจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2532 โดยกลุ่มเล็กๆ ของบริษัทที่ต้องการให้เกิดมาตรฐานของการ์ดหน่วยความจำขึ้นมา และยังมีเหตุผลที่สำคัญอื่นๆ ก็คือ กลุ่มบริษัทเหล่านี้ต้องการให้เพิ่มจำนวนแหล่งการผลิตมากขึ้น ต้องการให้มีการกระจายความเสี่ยง ลดอัตราความเสี่ยงให้ต่ำลง และต้องการขยายให้ตลาดกว้างขึ้น ในการจัดตั้งกลุ่มของ PCMCIA ครั้งแรกนั้น มีจำนวนสมาชิกอยู่ประมาณ 25 บริษัท โดยเบื้องต้นมีคณะกรรมการอยู่ 2 ชุด คื อคณะกรรมการด้านเทคนิค และคณะกรรมการด้านการตลาด ซึ่งคณะกรรมการเหล่านี้ต้องทำงานร่วมกัน เพื่อพัฒนามาตรฐานของ PC Card โดยมีจุดประสงค์ไม่เพียงแต่พัฒนาด้านเทคโนโลยีให้เป็นไปได้เท่านั้น แต่ต้องทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ต้องการของตลาดด้วย เช่น ทำการผลิต Fax/Modem ด้วยแทนที่จะทำเฉพาะการ์ดหน่วยความจำ (Memory card) เท่านั้น
การที่สามารถทำให้การ์ดมีความสามารถด้านอินพุทและเอาท์พุทนั้น กลายมาเป็นจุดดึงดูดอย่างมากในการพัฒนาเทคโนโลยีออกไปสู่ตลาดของคอมพิวเตอร์โน๊ตบุคอย่างรวดเร็ว การเพิ่มช่อง Slot สำหรับ PC Card ทำให้คอมพิวเตอร์โน๊ตบุคสามารถขยายขอบเขตการใช้งานให้เพิ่มมากขึ้นได้โดย PCMCIA และ JEIDA ได้รวบรวมเทคโนโลยีต่างๆ ที่สามารถทำงานร่วมกับ PC Card ได้ โดยไม่จำกัดเทคโนโลยีให้อยู่ที่ Silicon base เท่านั้น แต่ได้มีการพัฒนาให้การ์ดมีความสามารถเพิ่มสูงขึ้นด้วย
PC Card ได้ถูกกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับการต่อเชื่อมหรือการอินเตอร์เฟสเป็นแบบ 68 ขา (Pin) ระหว่างการ์ดที่ต่อพ่วงและช่อง (Socket) ที่ใส่ PC Card ในคอมพิวเตอร์ มาตรฐานนี้ได้กำหนดขนาดของ PC Card ออกเป็นสามประเภท ได้แก่ ประเภทที่หนึ่ง (Type I) ประเภทที่สอง (Type II) และประเภทที่สาม (Type III) ซึ่ง PC Card ทั้งหมดจะมีขนาดความกว้างและขนาดความยาวเท่ากันหมด โดยที่ขนาดดังกล่าวจะเท่ากับบัตรเครดิตทั่วๆ ไป แต่ขนาดความหนาของ PC Card จะแตกต่างกันตามประเภทต่างๆ คือ ประเภทที่หนึ่ง การ์ดจะมีความหนาเพียง 3.3 มม. ซึ่งเป็นประเภทที่มีขนาดบางที่สุด โดยมีจุดประสงค์ในการประดิษฐ์เพื่อนำมาเป็นการ์ดสำหรับหน่วยความจำ (Memory card) ประเภทที่สอง การ์ดจะมีความหนาเพียง 5 มม. ถูกประดิษฐ์ออกมาเพื่อเป็นการ์ดใช้สำหรับใช้งานเครือข่าย (LAN) และโมเด็ม (Modem) และประเภทที่สาม การ์ดจะมีความหนามากที่สุดถึง 10.5 มม. โดยมีจดประสงค์ในการประดิษฐ์เพื่อนำมาใช้สำหรับ Rotating Mass Storage และอุปกรณ์อื่นๆ ที่มีขนาดเล็กๆ ข้อควรจำสำหรับขนาดของการ์ดเหล่านี้คือ การ์ดที่มีขนาดเล็กกว่าสามารถใส่เข้าไปในช่อง (Socket) ที่มีขนาดใหญ่กว่าได้ แต่จะไม่สามารถใช้การ์ดที่มีขนาดใหญ่ใส่ในช่อง (Socket) ที่ออกแบบมาเป็นขนาดเล็กได้
สำหรับ การกำหนดทางกายภาพและทางไฟฟ้านั้น มาตรฐานของ PC Card มีการกำหนดโครงสร้างของซอฟต์แวร์ให้มีความสามารถด้าน Plug and Play ด้วย การทำงานของ Socket จะเป็นการอินเตอร์เฟสในระดับ Bios Level ทำให้ผู้ใช้งานสามารถปรับปรุงเพิ่มเติมฮาร์ดแวร์ได้จากไดรเวอร์ของผู้ขาย การ์ดแต่ละรายได้ และสามารถรู้ได้ว่าเมื่อใดการ์ดถูกใส่เข้าไปใน Socket และเมื่อใดได้ถูกนำออกจาก Socket รวมถึงมีการจัดการทรัพยากร (Resource) ต่างๆ ของระบบด้วย เช่น การจัดอินเทอร์รัพ (Interrupt) สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกออกแบบมาให้สามารถใช้งานการ์ดได้นั้น คุณสามารถใส่การ์ดเข้าไป หรือดึงการ์ดออกมาในขณะที่เครื่องคอมพิวเตอร์กำลังใช้งานอยู่ โดยไม่จำเป็นต้องปิดเครื่องหรือทำการบู๊ตเครื่องใหม่อีกครั้ง
PCMCIA และ JEIDA ต่างก็เป็นมาตรฐานของ PC Card ซึ่งจะเป็นการมุ่งเน้นให้มีการพัฒนามาตรฐานและสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับ PC Card นี้ให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยที่ PCMCIA และ JEIDA ได้มีการปรับปรุงมาตรฐานของ PC Card อยู่หลายครั้ง ดังนี้
1) มาตรฐาน PCMCIA Release 1.0/JEIDA 4.0 (มิถุนายน 2533)
มาตรฐานแรกนี้ได้กำหนดอินเตอร์เฟสออกมาเป็นแบบ 68 pin และได้กำหนดรูปแบบ PC Card ออกมาสำหรับการ์ดหน่วยความจำเท่านั้น ซึ่งการ์นี้จะอยู่ในรูปของวงจรรวม (Integrated Circuit) ซึ่งมีจำนวนขาใช้งานอยู่ 68 pin และขาใช้งานภายในช่อง Socket นั้น ถูกกำหนดขึ้นมาครั้งแรกโดย JEIDA ในปี พ.ศ. 2528
มาตรฐานของ PCMCIA ในระยะเริ่มแรกนั้น ได้กำหนดมาตรฐานทางกายภาพและทางไฟฟ้าเอาไว้ด้วย โดยจะมีการระบุโครงสร้างทางข้อมูลของการ์ด (Card Information Structure CIS หรือที่เรียกว่า Metaformat) รวมถึงเทคโนโลยีแบบ Plug and Play ไว้ด้วย ในการกำหนดมาตรฐานครั้งแรกของ PC Card นี้ ยังไม่มีการกำหนดข้อมูลใดๆ ของการ์ดที่จะใช้งานกับอินพุทและเอาท์พุทของคอมพิวเตอร์
สำหรับของดีของ Metaformat คือทำให้ PC Card นี้สามารถรองรับการใช้งานได้มากขึ้น รวมถึงทำให้สามารถจัดโครงสร้างของข้อมูลได้ง่ายขึ้น โดยที่ Metaformat นี้อยู่ในลำดับชั้นที่สูงกว่าลำดับชั้นทางกายภาพ (Physical Layer) และประกอบได้ด้วยชั้นของ Layer ย่อยต่างๆ ดังนี้
* Basic Compatibility Layer ซึ่งจะทำหน้าที่จัดหาข้อมูลพื้นฐาน เกี่ยวกับ PC Card รวมถึงจัดหาข้อมูลของอุปกรณ์ เช่น ขนาด ความเร็ว เป็นต้น
* Data Recording Layer ทำหน้าที่เกี่ยวกับการจัด Partition ของข้อมูล
* Data Organization Layer เป็นการจัดดครงสร้าง Partition ของข้อมูล
* System-Specific Layer ทำหน้าที่ตรวจสอบรูปแบบของข้อมูล
2) มาตรฐาน PCMCIA Release 2.0/JEIDA 4.1 (กันยายน 2534)
การประกาศมาตรฐานในครั้งที่สองนี้ ได้ระบุมาตรฐานการอินเตอร์เฟสแบบ 68 Pin เหมือนกันกับที่ใช้สำหรับ PCMCIA ในแบบการ์ดหน่วยความจำตามมตรฐานที่ประกาศออกมาในครั้งแรก การประกาศมาตรฐานในครั้งที่สองนี้ ได้ระบุข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น โดยมีรายละเอียดดังนี้
* สนับสนุนการทำงานของการ์ดหน่วยความจำที่ทำงานในแบบ Dual Voltage
* เพิ่มส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการของการ์ดให้สามารถทำงานได้ในสภาวะแวดล้อมต่างๆ รวมไปถึงทำการเพิ่มเติมในส่วนการตรวจสอบการทำงานของการ์ดด้วย
* เพิ่มเติมในส่วนของ XIP (eXecute In Place) ซึ่งเป็นวิธีการประมวลผลแอพพลิเคชั่นโดยตรงจาก ROM โดยจะไม่มีการโหลดข้อมูลของแอพพลิเคชั่นผ่านไปยัง RAM ซึ่งจะต่างจากวิธีประมวลผลตามปกติทั่วไป สำหรับข้อกหนดของ XIP นั้นจะกล่าวถึง Metaformat โครงสร้างของข้อมูล การอินเตอร์เฟสแบบ API และซอฟต์แวร์แอพพลิเคชั่นที่จะมาใช้กับวิธี XIP
* เพิ่มมาตรฐาน Socket Service ซึ่งเป็นลำดับชั้นต่ำที่สุดของลำดับชั้นทั้งหมด โดยตัวมันมีหน้าที่ในการบริหารการใช้ทรัพยากร (Resource) ภายในตัว PC Card มันจะทำงานตามการควบคุมจากซอฟต์แวร์แอพพลิเคชั่น ซึ่งอยู่ในลำดับชั้นที่สูงกว่า
ในเวอร์ชั่นแรกของซอฟต์แวร์แอพพลิเคชั่น API (Application Programming Interface) สามารถใช้งานได้ใน Release 2.0 นี้ โดยมีส่วนที่เพิ่มเติมขึ้นของ Release นี้คือการทำให้โครงสร้างข้อมูลมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเพิ่มเติมในการสนันสนุนกรประมวลผลแบบ XIP ด้วย
3) มาตรฐาน PCMCIA Release 2.01 (พฤศจิกายน 2535)
PC Card แบบที่ 3 (Type III) ซึ่งถูกส้างขึ้นใน Release นี้ จะมีการเก็บข้อมูลแบบอัติโนมัติ โดยมีการผสมผสานข้อมูลแบบดิจิตอลเข้าไปด้วย ในเวอร์ขั่นนี้ซอฟต์แวร์ API จะมีจัดการระบบปฏิบัติการให้เหมาะสมสำหรับการจัดการด้านทรัพยากร (Resource) ของการ์ด การจัดการนี้จะปรับปรุงเพิามเติมในส่วนของ Socket Service, Driver, ข้อมูลที่จำเป็นในการอินเตอร์เฟส และเพิ่มในส่วนของ PC Card ATA ซึ่ง PC Card ATA นี้เป็นมาตรฐานที่กล่าวถึงการทำงานของ Mass Storage (Disk) โดยการใช้โปรโตคอลของ ANSI AT Attachment มาเป็นอินเตอร์เฟสให้กับ Disk Drive
สิ่งที่เพิ่มเติมขึ้นเหล่านี้จะจัดทำอยู่ในรูปข้อกำหนดแบบ Metaformat (CIS) ซึ่งจะเป็นฟังก์ชั่นอยู่ใน PC Card รุ่นใหม่ๆ
4) มาตรฐาน PCMCIA Release 2.1/JEIDA 4.2 (กรกฎาคม 2536)
ในมาตรฐาน Release นี้ ข้อกำนหดของซอฟต์แวร์ที่ใช้งานกับการ์ดและช่อง Socket ได้ถูกปรับปรุงขึ้นอีก โดยใช้ข้อมูลพื้นฐานจากการติดตั้งที่ผ่านๆ มา จากข้อมูลโครงสร้างของซอฟต์แวร์ และจากข้อมูลที่กำหนดมาตรฐานอินเตอร์เฟสของ API
สำหรับข้อกำหนดทางกายภาพและทางไฟฟ้าของการ์ดนี้ ก็ถูกปรับปรุงเพิ่มเติมให้มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น และได้ทำการแก้ไขข้อบกพร่องที่พบจากการทำงานของการ์ดเวอร์ชั่นก่อนๆ ซึ่งมาตรฐานนี้ยังมีการเพิ่มเติมข้อกำหนดให้กับ CIS ด้วย
5) มาตรฐาน PC Card (กุมพาพันธ์ 2538)
มาตรฐานของ PC Card เวอร์ชั่นนี้ได้มีการเพิ่มเติมข้อมูลเข้าไป เพื่อเพิ่มความคอใแพตทิเบิลกับมาตรฐานของ CIS เพื่อจะสามารถใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป และเพิ่มจำนวนของข้อมูลภายใน CIS เพิ่ม Guide lines เพื่อช่วยผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นสามารถจะใช้งานตามมาตรฐานได้ และมีการกำหนดรูปแบบของการเก็บข้อมูลร่วมไว้ด้วย
โดยสรุปแล้วมาตรฐานนี้มีการปรับปรุงเพิ่มเติมขึ้นดังนี้
* สามารถทำงานได้ที่สภาวะแรงดันต่ำๆ เพียง 3.3 Volt
* เพิ่มเติมส่วนของฮาร์ดแวร์ Direct Memory Access (DMA)
* เพิ่มเติมให้การ์ดสามารถทำฟังก์ชั่นได้มากขึ้น
* ปรับปรุงมาตรฐานการจัดการด้านอินเตอร์เฟส (APM)
* มีความสามารถด้านการอินเตอร์เฟส 32 bit bus (Card bus) ซึ่งมี Throughput ที่สูงมาก